ขึ้นเพื่อใช้อำนาจในการปกครองประเทศ คำนี้ยังนิยามรวมไปถึงรัฐบาลที่ไม่ประสบความสำเร็จในการใช้
อำนาจปกครองประเทศด้วย
ลักษณะการเมืองการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย
คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ
ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอง
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
1. อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรือบางทีก็เรียกกันว่า อำนาจของรัฐ (state power) เป็นอำนาจที่มาจากปวงชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเพื่อไปใช้สิทธิใช้เสียงแทนตน เช่น การเลือก สส. หรือ สว. โดยมีการกำหนดวันเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง เช่น ทุก 4 ปี หรือ 6 ปีเป็นต้น
3. รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อาทิ สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิต เสรีภาพในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น การชุมนุม โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเล่านี้
เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อรักษาศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
4. ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน เช่น สิทธิในการ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
5. รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มชน รวมทั้งจะต้องไม่ออกกฎหมายที่มีผลเป็นการลงโทษบุคคลย้อนหลัง
ระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และแบบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอง
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
1. อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรือบางทีก็เรียกกันว่า อำนาจของรัฐ (state power) เป็นอำนาจที่มาจากปวงชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเพื่อไปใช้สิทธิใช้เสียงแทนตน เช่น การเลือก สส. หรือ สว. โดยมีการกำหนดวันเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง เช่น ทุก 4 ปี หรือ 6 ปีเป็นต้น
3. รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อาทิ สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิต เสรีภาพในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น การชุมนุม โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเล่านี้
เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อรักษาศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
4. ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน เช่น สิทธิในการ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
5. รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มชน รวมทั้งจะต้องไม่ออกกฎหมายที่มีผลเป็นการลงโทษบุคคลย้อนหลัง
1. แบบแรกมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้แก่ อังกฤษ เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไทย
2. แบบที่สองมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้แก่ ฝรั่งเศส อินเดีย สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ข้อดีและข้อเสียของ ระบอบประชาธิปไตย
1. ข้อดีของระบอบประชาธิปไตย ที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
1.1 เปิดโอกาสให้ประชาชน ส่วนข้างมากดำเนินการปกครองประเทศ โดยประชาชนส่วนข้างน้อยมีสิทธิที่จะดำรงอยู่และทำการคัดค้านการปกครองของฝ่ายข้างมากได้ ข้อดีข้อนี้มีส่วนทำให้เกิดผลดีต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม เนื่องจากการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยฝ่ายเสียงข้างมากนั้นย่อมจะมีความถูกต้องมากและผิดพลาดน้อย ขณะเดียวกันฝ่ายเสียงข้างน้อยจะคอยเป็นกระจกเงา และท้วงติดผลเสียที่จะต้องป้องกันมิให้เกิดขึ้นตลอดเวลา
1.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างเสมอหน้ากัน ตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน มีสิทธิที่จะรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองและสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประธานาธิบดี ซึ่งทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกคนดีและมีความสามารถเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าว
1.3 ถือกฎหมายเป็นมาตรฐานในการดำเนินการปกครอง โดยใช้กฎหมายบังคับแก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือประชาชน ยังผลให้ทุกคนเสมอกันโดยกฎหมาย
1.4 ช่วยระงับความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเองโดยสันติวิธี โดยมีศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งช่วยทำให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยมีกฎหมายเป็นกรอบของความประพฤติของทุกคน
2. ข้อเสียของระบอบประชาธิปไตย ที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
2.1 มีความล่าช้าในการตัดสินใจทำการต่าง ๆ เนื่องจากต้องมีการปรึกษาหารือและผ่านขั้นตอนมาก เช่นการตรา กฎหมายแต่ละฉบับต้องใช้เวลาบางครั้งหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน เนื่องจากต้องมีการอภิปรายกันในสภา และแก้ไขปรับปรุงกันมากกว่าจะประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ผู้นำของประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขโดยรีบด่วน จึงมักจะคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะกับประเทศของตน
2.2 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปกครองมาก ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ หรือเลือกตั้งประธานาธิบดีแต่ละครั้ง ต้องใช้เงินทองเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้นำประเทศที่กำลังพัฒนามักคิดว่าประเทศของตนยากจนเกินไปที่จะใช้ระบอบประชาธิปไตยได้
2.3 อาจนำไปสู่ความสับสนวุ่นวายได้ ถ้าประชาชนส่วนมากในประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย ไม่รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพให้อยู่ภายในกรอบของกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้ประเทศชาติเจริญช้าลงอีก ด้วยเหตุนี้ผู้นำของประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศ จึงคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับประเทศของตน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะปกครองในระบอบประชาธิปไตย
1. ข้อดีของระบอบประชาธิปไตย ที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
1.1 เปิดโอกาสให้ประชาชน ส่วนข้างมากดำเนินการปกครองประเทศ โดยประชาชนส่วนข้างน้อยมีสิทธิที่จะดำรงอยู่และทำการคัดค้านการปกครองของฝ่ายข้างมากได้ ข้อดีข้อนี้มีส่วนทำให้เกิดผลดีต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม เนื่องจากการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยฝ่ายเสียงข้างมากนั้นย่อมจะมีความถูกต้องมากและผิดพลาดน้อย ขณะเดียวกันฝ่ายเสียงข้างน้อยจะคอยเป็นกระจกเงา และท้วงติดผลเสียที่จะต้องป้องกันมิให้เกิดขึ้นตลอดเวลา
1.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างเสมอหน้ากัน ตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน มีสิทธิที่จะรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองและสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประธานาธิบดี ซึ่งทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกคนดีและมีความสามารถเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าว
1.3 ถือกฎหมายเป็นมาตรฐานในการดำเนินการปกครอง โดยใช้กฎหมายบังคับแก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือประชาชน ยังผลให้ทุกคนเสมอกันโดยกฎหมาย
1.4 ช่วยระงับความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเองโดยสันติวิธี โดยมีศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งช่วยทำให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยมีกฎหมายเป็นกรอบของความประพฤติของทุกคน
2. ข้อเสียของระบอบประชาธิปไตย ที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
2.1 มีความล่าช้าในการตัดสินใจทำการต่าง ๆ เนื่องจากต้องมีการปรึกษาหารือและผ่านขั้นตอนมาก เช่นการตรา กฎหมายแต่ละฉบับต้องใช้เวลาบางครั้งหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน เนื่องจากต้องมีการอภิปรายกันในสภา และแก้ไขปรับปรุงกันมากกว่าจะประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ผู้นำของประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขโดยรีบด่วน จึงมักจะคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะกับประเทศของตน
2.2 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปกครองมาก ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ หรือเลือกตั้งประธานาธิบดีแต่ละครั้ง ต้องใช้เงินทองเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้นำประเทศที่กำลังพัฒนามักคิดว่าประเทศของตนยากจนเกินไปที่จะใช้ระบอบประชาธิปไตยได้
2.3 อาจนำไปสู่ความสับสนวุ่นวายได้ ถ้าประชาชนส่วนมากในประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย ไม่รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพให้อยู่ภายในกรอบของกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้ประเทศชาติเจริญช้าลงอีก ด้วยเหตุนี้ผู้นำของประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศ จึงคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับประเทศของตน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ระบอบเผด็จการมี 3 แบบ คือ เผด็จการทหาร เผด็จการฟาสซิสต์ และเผด็จการคอมมิวนิสต์ ดังต่อไปนี้
1. ระบอบเผด็จการทหาร หมายถึง ระบอบเผด็จการที่คณะผู้นำฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองโดยตรงหรือโดยอ้อม (ผ่านทางพลเรือนที่พวกตนสนับสนุน) และมักจะใช้กฎอัยการศึกหรือรัฐธรรมนูญที่คณะของตนสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการปกครอง โดยทั่วไปคณะผู้นำทหารมักจะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการชั่วคราว ระหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือหลังจากล้มเลิกระบอบประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดภัยคุกคามบางอย่างต่อความมั่นคงของรัฐ ส่วนมากแล้วเมื่อเหตุการณ์ความวุ่นวายต่าง ๆ สงบลง คณะผู้นำทางทหารก็มักจะอ้างสาเหตุต่าง ๆ นานาเพื่อยึดอำนาจการปกครองประเทศต่อไปอีก ไม่ยอมที่จะคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนโดยง่าย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหภาพพม่าในปัจจุบันนี้เป็นต้น แต่ทว่าเมื่อเวลายิ่งผ่านเนิ่นนานออกไปกระแสความไม่พอใจในหมู่ประชาชนรวมทั้งแรงกดดันจากนานาชาติ ก็จะทำให้คณะผู้นำทางทหารกุมอำนาจการปกครองไว้ไม่ได้ ในที่สุดก็จำเป็นต้องคืนอำนาจให้ประชาน แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ในบางประเทศก็เกิดความวุ่นวาย มีการต่อสู้ระหว่างกำลังของประชาชนกับกำลังของรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งจากประวัติศาสตร์การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการปกครองที่ผ่านมา มักจะจบลงโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายประชาชน เช่นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่โรมาเนีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ตัวอย่างของการปกครองแบบเผด็จการทหาร เช่น การปกครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นระยะที่พลเอกโตโจและคณะนายทหารใช้อำนาจเผด็จการในการปกครอง หรือการปกครองของไทยระหว่างที่ไม่มีรัฐธรรมนูญ ในระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2511 อำนาจการปกครองประเทศตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะปฏิวัติ ซึ่งนำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร ส่วนในปัจจุบัน(พ.ศ. 2541) ก็มี เช่น การปกครองของสหภาพพม่าภายใต้การนำของพลเอกตาน ส่วย เป็นต้น
2. ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่ผู้นำคนหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักธุรกิจและกองทัพให้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ ผู้นำในระบอบการปกครองเผด็จการฟาสซิสต์มักจะมีลัทธิการเมืองที่เรียกกันว่า ลัทธิฟาสซิสต์ เป็นลัทธิชี้นำในการปกครองและมุ่งที่จะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการถาวร โดยเชื่อว่าระบอบการปกครองแบบนี้เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยให้ประเทศของตนมีความเจริญก้าวหน้าโดยเร็ว ตัวอย่างของการปกครองระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ เช่น การปกครองของอิตาลีสมัยมุสโสลินีเป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2473 – 2486 การปกครองของเยอรมนีสมัยฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2476 – 2488 หรือการปกครองของสเปนสมัยจอมพลฟรังโกเป็นผู้นำระหว่างพ.ศ. 2480 – 2518 เป็นต้น
2. ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่ผู้นำคนหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักธุรกิจและกองทัพให้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ ผู้นำในระบอบการปกครองเผด็จการฟาสซิสต์มักจะมีลัทธิการเมืองที่เรียกกันว่า ลัทธิฟาสซิสต์ เป็นลัทธิชี้นำในการปกครองและมุ่งที่จะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการถาวร โดยเชื่อว่าระบอบการปกครองแบบนี้เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยให้ประเทศของตนมีความเจริญก้าวหน้าโดยเร็ว ตัวอย่างของการปกครองระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ เช่น การปกครองของอิตาลีสมัยมุสโสลินีเป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2473 – 2486 การปกครองของเยอรมนีสมัยฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2476 – 2488 หรือการปกครองของสเปนสมัยจอมพลฟรังโกเป็นผู้นำระหว่างพ.ศ. 2480 – 2518 เป็นต้น
หลักการของระบอบเผด็จการ 1. ผู้นำคนเดียวหรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงกลุ่มเดียวมีอำนาจสูงสุด และสามารถใช้
อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำ มีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำอย่างเปิดเผยได้
3. ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต หรือนานเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงานหรือกองทัพยังให้การสนับสนุน ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
4. รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นก็เพื่อให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครที่ผู้นำหรือคณะผู้นำส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน รัฐสภาก็จะประชุมกันปีละ 5 – 10 วัน เพื่อรับทราบและยืนยันให้ผู้นำหรือคณะผู้นำทำการปกครองต่อไป ตามที่ผู้นำหรือคณะผู้นำเห็นสมควร
ข้อดีและข้อเสีย ของระบอบเผด็จการ
ข้อดีของระบอบเผด็จการ ได้แก่
1. รัฐบาลสามารถตัดสินใจทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย เช่น สามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากเสียงข้างมากในรัฐสภา ทั้งนี้ก็เพราะผู้นำหรือคณะรัฐมนตรีมักจะได้รับมอบอำนาจจากรัฐสภาไว้ล่วงหน้าให้ออกกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับบางอย่างได้เอง
2. แก้ปัญหาบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าระบอบประชาธิปไตย เช่น สั่งการปราบการจลาจล การก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบขาดมากกว่า โดยไม่จำต้องเกรงว่าจะเกินอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ เนื่องจากศาลในระบอบเผด็จการไม่ได้มีความเป็นอิสระในการพิจารณาคดีเหมือนในระบอบประชาธิปไตย
ข้อเสียของระบอบเผด็จการ ได้แก่
1. เป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ซึ่งย่อมจะมีการผิดพลาดและใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องได้โดยไม่มีใครรู้หรือกล้าคัดค้าน
2. มีการใช้อำนาจเผด็จการกดขี่และลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งประทุษร้ายต่อชีวิตของคนหรือกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้ปกครอง
3. ทำให้คนดีมีความสามารถที่ไม่ใช่พวกพ้อง หรือผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ปกครองไม่มีโอกาสดำรงตำแหน่งสำคัญในทางการเมือง
4. ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกกดขี่และขาดสิทธิเสรีภาพ ย่อมจะไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่และอาจพยายามต่อต้านอยู่เงียบ ๆ หรือมิฉะนั้นบางคนก็อาจจะหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นพวกปัญญาชน ทำให้ประเทศชาติขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
5. อาจนำประเทศชาติไปสู่ความพินาศได้ เหมือนดังฮิตเลอร์ได้นำประเทศเยอรมนี หรือพลเอกโตโจได้นำประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งผลปรากฏว่าทั้งสองประเทศประสบความพินาศอย่างย่อยยับ หรือตัวอย่างเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เห่งอิรัค ได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดครองประเทศคูเวต และไม่ยอมถอนตัวออกไปตามมติขององค์การสหประชาชาติ จนกองกำลังนานาชาติต้องเปิดฉากทำสงครามกับอิรักเพื่อปลดปล่อยคูเวต และผลสุดท้ายอิรักก็เป็นฝ่ายปราชัยอย่างย่อยยับ ทำให้ประชาชนชาวอิรักต้องประสบความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต การพัฒนาประเทศหยุดชะงัก ทั้งนี้เป็นเพราะการตัดสินใจผิดพลาดของผู้นำเพียงคนเดียว
เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการต่างก็มีข้อดีและข้อเสียดังกล่าว จึงทำให้ชนชั้นนำและประชาชนจำนวนหนึ่งในประเทศต่างๆ เลือกใช้ระบอบการปกครองที่พวกตนคิดว่าเหมาะสมกับประเทศของตนในขณะนั้น และสามารถช่วยแก้ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศของตนตามแนวทางที่พวกตนเชื่อได้ ดังจะเห็นได้ว่า ในระยะตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา บางประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองของตนจากระบอบเผด็จการมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เช่น เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น โปรตุเกส สเปน เป็นต้น ส่วนบางประเทศก็เปลี่ยนจากระบอบประชาธิปไตยมาเป็นระบอบเผด็จการทหาร เช่น พม่า นิการากัว เอธิโอเปีย เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน บางประเทศก็เปลี่ยนจากระบอบเผด็จการฟาสซิสต์หรือเผด็จการทหารเป็นระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ เช่น เกาหลีเหนือ เป็นต้น
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ กันไป พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ
สังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ กันไป พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ
รูปแบบของรัฐ
รัฐ หรือรัฐประชาชาติ โดยทั่วไปมี 2 รูปแบบ คือ รัฐเดี่ยว กับรัฐรวม
1. รัฐเดี่ยว เป็นรัฐที่มีรัฐบาลเพียงรัฐบาลเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยปกครองอาณาเขต หรือดินแดนทั้งหมด ประชาชนที่อยู่ในรัฐถือว่าอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน รัฐอาจจะจัดระบบการปกครองให้มีหน่วยปกครองระดับรองกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อให้บริการหรือให้ความสะดวกแก่คนในรัฐ รัฐเดี่ยวนี้แม้จะมีการจัดตั้งหน่วยงานปกครองท้องถิ่น เพื่อให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครอง หรือดำเนินการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในท้องถิ่น แต่ก็เป็นรูปแบบของการปกครองตนเอง หน่วยการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ตราขึ้นมาจากส่วนกลาง คือ การปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีรัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุม การปกครองตนเองจะมีอำนาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับรัฐบาลแห่งชาติว่ามีความต้องการกระจายอำนาจเพียงใด กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยมีศูนย์รวมอยู่ที่รัฐบาลในส่วนกลาง จึงทำให้การดำเนินงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นการวางนโยบายหรือการบริหารต้องขึ้นอยู่กับการกำหนดและควบคุมดูแลของรัฐบาลกลางเป็นหลัก การปกครองแบบนี้มักเกิดขึ้นในประเทศที่มีอาณาเขตไม่กว้างขวางมาก ท้องถิ่นมีลักษณะไม่ต่างกันมาก และประชาชนในรัฐมีความเกี่ยวข้องผูกพันกันในทางประวัติศาสตร์ เช่น ไทย ฝรั่งเศส ซาอุดีอาระเบีย สิงคโปร์ เป็นต้น
2. รัฐรวม รัฐประเภทนี้ได้แก่ การที่รัฐอย่างน้อย 2 รัฐมารวมกันเป็นรัฐเดียว โดยแบ่งการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็นสัดส่วน มีรัฐบาล 2 ระดับ ได้แก่ รัฐบาลกลาง กับรัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลทั้ง 2 ระดับต่างมีอำนาจหน้าที่ของตนโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยทั่ว ๆ ไป รัฐบาลกลางของรัฐรวมจะใช้อำนาจอธิปไตยในส่วนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของรัฐทั้งหมด หรือผลประโยชน์อันเป็นส่วนรวมของรัฐ เช่น การติดต่อกับต่างประเทศ การรักษาความมั่นคงของชาติ การเงินและการคลัง เป็นต้น ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจในการดำเนินกิจการอันเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นโดยเฉพาะ เช่น การจัดการศึกษา การรักษาความสงบภายใน การรักษาสุขภาพของประชาชนเป็นต้น รัฐรวมประกอบด้วยหลาย ๆ รัฐเข้ามารวมกันเป็นรัฐประชาชาติใหญ่ เรียกว่า สหพันธรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยมลรัฐต่าง ๆ ถึง 50 มลรัฐ สาธารณรัฐเยอรมนี มีรัฐต่าง ๆ รวมกันถึง 16 รัฐ เป็นต้น รัฐธรรมนูญของรัฐรวมหรือสหพันธรัฐแบ่งแยกอำนาจของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นออกจากกันอย่างเด่นชัดว่า รัฐบาลใดมีขอบเขตของอำนาจหน้าที่อย่างไร ทั้งนี้เพื่อป้องกันความขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้นได้ ปกติรัฐที่มีการปกครองแบบรัฐรวม มักจะเป็นรัฐหรือประเทศใหญ่ มีอาณาเขตกว้างขวาง มีภูมิประเทศและสภาพท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เช่น สหพันธรัฐรัสเซีย ออสเตรเลีย บราซิล สหรัฐอเมริกา แคนาดา อินเดีย เป็นต้น
รัฐ หรือรัฐประชาชาติ โดยทั่วไปมี 2 รูปแบบ คือ รัฐเดี่ยว กับรัฐรวม
1. รัฐเดี่ยว เป็นรัฐที่มีรัฐบาลเพียงรัฐบาลเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยปกครองอาณาเขต หรือดินแดนทั้งหมด ประชาชนที่อยู่ในรัฐถือว่าอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน รัฐอาจจะจัดระบบการปกครองให้มีหน่วยปกครองระดับรองกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อให้บริการหรือให้ความสะดวกแก่คนในรัฐ รัฐเดี่ยวนี้แม้จะมีการจัดตั้งหน่วยงานปกครองท้องถิ่น เพื่อให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครอง หรือดำเนินการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในท้องถิ่น แต่ก็เป็นรูปแบบของการปกครองตนเอง หน่วยการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ตราขึ้นมาจากส่วนกลาง คือ การปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีรัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุม การปกครองตนเองจะมีอำนาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับรัฐบาลแห่งชาติว่ามีความต้องการกระจายอำนาจเพียงใด กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยมีศูนย์รวมอยู่ที่รัฐบาลในส่วนกลาง จึงทำให้การดำเนินงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นการวางนโยบายหรือการบริหารต้องขึ้นอยู่กับการกำหนดและควบคุมดูแลของรัฐบาลกลางเป็นหลัก การปกครองแบบนี้มักเกิดขึ้นในประเทศที่มีอาณาเขตไม่กว้างขวางมาก ท้องถิ่นมีลักษณะไม่ต่างกันมาก และประชาชนในรัฐมีความเกี่ยวข้องผูกพันกันในทางประวัติศาสตร์ เช่น ไทย ฝรั่งเศส ซาอุดีอาระเบีย สิงคโปร์ เป็นต้น
2. รัฐรวม รัฐประเภทนี้ได้แก่ การที่รัฐอย่างน้อย 2 รัฐมารวมกันเป็นรัฐเดียว โดยแบ่งการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็นสัดส่วน มีรัฐบาล 2 ระดับ ได้แก่ รัฐบาลกลาง กับรัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลทั้ง 2 ระดับต่างมีอำนาจหน้าที่ของตนโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยทั่ว ๆ ไป รัฐบาลกลางของรัฐรวมจะใช้อำนาจอธิปไตยในส่วนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของรัฐทั้งหมด หรือผลประโยชน์อันเป็นส่วนรวมของรัฐ เช่น การติดต่อกับต่างประเทศ การรักษาความมั่นคงของชาติ การเงินและการคลัง เป็นต้น ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจในการดำเนินกิจการอันเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นโดยเฉพาะ เช่น การจัดการศึกษา การรักษาความสงบภายใน การรักษาสุขภาพของประชาชนเป็นต้น รัฐรวมประกอบด้วยหลาย ๆ รัฐเข้ามารวมกันเป็นรัฐประชาชาติใหญ่ เรียกว่า สหพันธรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยมลรัฐต่าง ๆ ถึง 50 มลรัฐ สาธารณรัฐเยอรมนี มีรัฐต่าง ๆ รวมกันถึง 16 รัฐ เป็นต้น รัฐธรรมนูญของรัฐรวมหรือสหพันธรัฐแบ่งแยกอำนาจของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นออกจากกันอย่างเด่นชัดว่า รัฐบาลใดมีขอบเขตของอำนาจหน้าที่อย่างไร ทั้งนี้เพื่อป้องกันความขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้นได้ ปกติรัฐที่มีการปกครองแบบรัฐรวม มักจะเป็นรัฐหรือประเทศใหญ่ มีอาณาเขตกว้างขวาง มีภูมิประเทศและสภาพท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เช่น สหพันธรัฐรัสเซีย ออสเตรเลีย บราซิล สหรัฐอเมริกา แคนาดา อินเดีย เป็นต้น
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับยืนยันความเป็นประมุขสูงสุดของพระมหากษัตริย์ โดยบัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ หมายความว่า ผู้ใดจะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ผู้ละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง รัฐธรรมนูญบางฉบับถึงกับไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการเมือง และกำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการดำเนินการทางการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญได้กำหนดพระราชอำนาจของ
พระมหากษัตริย์ ดังนี้
1. ทรงใช้อำนาจอธิปไตย พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจอธิปไตย เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ดังนี้
ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา หมายความว่า พระมหากษัตริย์ทางใช้อำนาจในการออกกฎหมาย คำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา เมื่อรัฐสภาร่างกฎหมายขึ้นแล้วจะทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายตามขั้นตอนของ
รัฐธรรมนูญ
ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี หมายความว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งนายกรัฐมนตรี
พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีดำเนินการไปนั้น ถือว่ากระทำไปในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้เพราะบรรดาพระราชบัญญัติพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ปฏิบัติและรับผิดชอบทั้งสิ้น โดยนายกรัฐมนตรีจะต้องกราบบังคมทูลและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ พระราชอำนาจทางด้านบริหารของพระมหากษัตริย์ดังกล่าวได้แก่ การตราพระราชกฤษฎีกาไม่ขัดต่อกฎหมาย การประกาศใช้และยกเลิกใช้กฎอัยการศึก การประกาศสงคราม เมื่อได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา การทำสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก หรือสนธิสัญญาอื่นกับนานาประเทศ หรือกับองค์การระหว่างประเทศ และการพระราชทานอภัยโทษ
ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล หมายถึง ศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่างๆ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและการพ้นจาก ตำแหน่งของผู้พิพากษาและตุลาการก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาและตุลาการจะต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์
2. ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ หมายความว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงอยู่ภายใต้กฎหมายก็เพียงเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ทรงอยู่เหนือกฎหมายอื่น ๆ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องตามกฎหมายใด ๆ มิได้ ทั้งนี้ก็เพราะต้องการเทิดทูนองค์พระประมุขของชาติ พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิด (The King can do no wrong)หมายความว่า พระมหากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบในพระบรมราชโองการหรือการกระทำในพระปรมาภิไธยของพระองค์ในกรณีที่มีความเสียหายบกพร่องเกิดขึ้น ผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการจะต้องรับผิดชอบ เพราะในทางปฏิบัตินั้น พระมหากษัตริย์มิได้ทรงริเริ่ม หรือดำเนินข้อราชการต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง จะต้องมีเจ้าหน้าที่หรืองค์กรหนึ่งองค์กรใดเป็นฝ่ายดำเนินการและกราบทูลขึ้นมา จะไปละเมิดกล่าวโทษพระมหากษัตริย์มิได้
3. ทรงเป็นุพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก นั่นก็คือทรงเป็นผู้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาขณะเดียวกันก็ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก คือ ทรงทำนุบำรุงอุปถัมภ์ศาสนาทั้งปวงในขอบขันฑสีมาด้วย โดยไม่เลือกแบ่งแยกว่าเป็นศาสนาใด สถาบันพระมหากษัตริย์กับศาสนาจึงเป็นสัญลักษณ์พิเศษอย่างหนึ่งของชาติไทย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะและเป็นองค์อุปถัมภ์ค้ำชูศาสนาอื่น ๆ อย่างเสมอหน้ากัน
4. ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย คำว่า พระมหากษัตริย์ หมายถึง นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุนี้พระมหากษัตริย์ในอดีตจึงต้องทรงนำทัพออกศึกด้วยพระองค์เอง ปัจจุบันแม้การรบจะไม่เกิดมีขึ้นแล้วก็ตาม แต่พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงเป็นมั่งขวัญของเหล่าทหารหาญ และเหนือสิ่งอื่นใดทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ตามที่รัฐธรรมนูญได้ถวายพระเกียรติยศไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ว่า พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพสยาม และนับแต่วาระนั้นเป็นต้นมา รัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นภายหลังก็ได้มีบทบัญญัติทำนองเดียวกันนี้ปรากฏอยู่ทุกฉบับ พระราชสถานะ จอมทัพไทย ตามรัฐธรรมนูญนี้ได้จำหลักลงในสำนึกของทหารไทยทุกคนเริ่มตั้งแต่ธงไชยเฉลิมพลประจำกองทหารนั้น ก็เป็นมงคลสูงสุดสำหรับหน่วย ด้วยเหตุว่าเป็นของที่ได้รับพระราชทานและได้บรรจุเส้นพระเจ้า(เส้นผม) ไว้ในพระกรัณฑ์(ตลับ) บนยอดปลายสุดของธง ดังนั้นเมื่อ กองทหารและธงไชยเฉลิมพลไปปรากฏอยู่ ณ ที่ใด ก็เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้เสด็จพระราชดำเนินร่วมไปด้วยในกองทัพนั้น ทหารไทยจึงมีขวัญมั่นคงเพราะต่างทราบดีว่าตนปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติเช่นเดียวกับพระประมุขของตนนั่นเอง
5. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานเกียรติยศแก่ชนทุกชั้นไม่ว่าจะเป็นฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ สมณศักดิ์ (ฐานันดรศักดิ์ของพระภิกษุสงฆ์) และบรรดาศักดิ์ (ฐานันดรศักดิ์ของขุนนาง ข้าราชการ) และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกตระกูลทุกลำดับชั้นด้วย การที่จะทรงสถาปนาฐานันดรศักดิ์หรือพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ในสมัยราชาธิปไตยพระราชอำนาจเหล่านี้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแล้ว การสถาปนาและถอดถอนฐานันดรศักดิ์
การพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงมีธรรมเนียมที่จะทรงสถาปนาฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์และพระราชทานสมณศักดิ์อยู่ แต่สำหรับบรรดาศักดิ์ขุนนางหรือข้าราชการนั้น ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว
6. ทรงเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี คณะองคมนตรี คือ คณะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อองค์พระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา องคมนตรีประกอบด้วยผู้มทรงคุณวุฒิต่าง ๆ โดยมีประธานองคมนตรีคนหนึ่งกับองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน การเลือก การแต่งตั้ง และการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพียงแต่ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งหรือพ้นจากตำแหน่งขององค์มนตรีอื่นๆ ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทั้งสิ้น
7. ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หมายถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน พระมหากษัตริย์ เมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักรหรือทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ เช่น ประชวร ทรงผนวช ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ หรือเมื่อราชบัลลังก์ว่างลง ปกติแล้วเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ใดด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา ผู้นั้นก็เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ถ้ามิได้ทรงแต่งตั้งไว้ ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งที่สมควรต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบและในบางกรณีเช่น เมื่อราชบัลลังก์ว่างลง หรือระหว่างที่ยังไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลางก่อนได้
ในรัชกาลปัจจุบันมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หลายคราว เช่น เมื่อเสด็จไปทรงศึกษาในต่างประเทศช่วงต้นรัชกาล เมื่อทรงผนวช หรือเมื่อเสด็จฯ ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในต่างประเทศ
8. ทรงแก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ กฎมณเฑียรบาลหมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นใช้บังคับในกิจการส่วนพระองค์ เช่น พระราชพิธีต่าง ๆ กิจการที่เกี่ยวกับสมาชิกแห่งพระราชวงศ์ หรือกิจการที่เกี่ยวกับราชสำนักหรือภายในเขตพระราชฐาน โดยไม่เกี่ยวกับราษฎรอื่น ๆ
การสืบราชสมบัติ หมายถึง การขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งนับต่อเนื่องจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนมิให้ขาดตอนกัน อันเป็นธรรมเนียมนานาประเทศ
การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะ เมื่อมีพระราชดำริประการใดให้คณะองคมนตรีจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมีพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานองคมนตรีแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้รัฐสภาทราบ
9. ทรงทำหนังสือสัญญา ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นๆ กับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ นอกจากนี้หนังสือสัญญาได้มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้เป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
10. ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้พิพากษา ข้าราชการในพระองค์ และข้าราชการระดับสูง
11. พระราชทานอภัยโทษ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษโดยมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับยืนยันความเป็นประมุขสูงสุดของพระมหากษัตริย์ โดยบัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ หมายความว่า ผู้ใดจะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ผู้ละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง รัฐธรรมนูญบางฉบับถึงกับไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการเมือง และกำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการดำเนินการทางการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญได้กำหนดพระราชอำนาจของ
พระมหากษัตริย์ ดังนี้
1. ทรงใช้อำนาจอธิปไตย พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจอธิปไตย เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ดังนี้
ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา หมายความว่า พระมหากษัตริย์ทางใช้อำนาจในการออกกฎหมาย คำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา เมื่อรัฐสภาร่างกฎหมายขึ้นแล้วจะทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายตามขั้นตอนของ
รัฐธรรมนูญ
ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี หมายความว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งนายกรัฐมนตรี
พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีดำเนินการไปนั้น ถือว่ากระทำไปในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้เพราะบรรดาพระราชบัญญัติพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ปฏิบัติและรับผิดชอบทั้งสิ้น โดยนายกรัฐมนตรีจะต้องกราบบังคมทูลและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ พระราชอำนาจทางด้านบริหารของพระมหากษัตริย์ดังกล่าวได้แก่ การตราพระราชกฤษฎีกาไม่ขัดต่อกฎหมาย การประกาศใช้และยกเลิกใช้กฎอัยการศึก การประกาศสงคราม เมื่อได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา การทำสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก หรือสนธิสัญญาอื่นกับนานาประเทศ หรือกับองค์การระหว่างประเทศ และการพระราชทานอภัยโทษ
ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล หมายถึง ศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่างๆ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและการพ้นจาก ตำแหน่งของผู้พิพากษาและตุลาการก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาและตุลาการจะต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์
2. ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ หมายความว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงอยู่ภายใต้กฎหมายก็เพียงเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ทรงอยู่เหนือกฎหมายอื่น ๆ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องตามกฎหมายใด ๆ มิได้ ทั้งนี้ก็เพราะต้องการเทิดทูนองค์พระประมุขของชาติ พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิด (The King can do no wrong)หมายความว่า พระมหากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบในพระบรมราชโองการหรือการกระทำในพระปรมาภิไธยของพระองค์ในกรณีที่มีความเสียหายบกพร่องเกิดขึ้น ผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการจะต้องรับผิดชอบ เพราะในทางปฏิบัตินั้น พระมหากษัตริย์มิได้ทรงริเริ่ม หรือดำเนินข้อราชการต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง จะต้องมีเจ้าหน้าที่หรืองค์กรหนึ่งองค์กรใดเป็นฝ่ายดำเนินการและกราบทูลขึ้นมา จะไปละเมิดกล่าวโทษพระมหากษัตริย์มิได้
3. ทรงเป็นุพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก นั่นก็คือทรงเป็นผู้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาขณะเดียวกันก็ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก คือ ทรงทำนุบำรุงอุปถัมภ์ศาสนาทั้งปวงในขอบขันฑสีมาด้วย โดยไม่เลือกแบ่งแยกว่าเป็นศาสนาใด สถาบันพระมหากษัตริย์กับศาสนาจึงเป็นสัญลักษณ์พิเศษอย่างหนึ่งของชาติไทย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะและเป็นองค์อุปถัมภ์ค้ำชูศาสนาอื่น ๆ อย่างเสมอหน้ากัน
4. ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย คำว่า พระมหากษัตริย์ หมายถึง นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุนี้พระมหากษัตริย์ในอดีตจึงต้องทรงนำทัพออกศึกด้วยพระองค์เอง ปัจจุบันแม้การรบจะไม่เกิดมีขึ้นแล้วก็ตาม แต่พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงเป็นมั่งขวัญของเหล่าทหารหาญ และเหนือสิ่งอื่นใดทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ตามที่รัฐธรรมนูญได้ถวายพระเกียรติยศไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ว่า พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพสยาม และนับแต่วาระนั้นเป็นต้นมา รัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นภายหลังก็ได้มีบทบัญญัติทำนองเดียวกันนี้ปรากฏอยู่ทุกฉบับ พระราชสถานะ จอมทัพไทย ตามรัฐธรรมนูญนี้ได้จำหลักลงในสำนึกของทหารไทยทุกคนเริ่มตั้งแต่ธงไชยเฉลิมพลประจำกองทหารนั้น ก็เป็นมงคลสูงสุดสำหรับหน่วย ด้วยเหตุว่าเป็นของที่ได้รับพระราชทานและได้บรรจุเส้นพระเจ้า(เส้นผม) ไว้ในพระกรัณฑ์(ตลับ) บนยอดปลายสุดของธง ดังนั้นเมื่อ กองทหารและธงไชยเฉลิมพลไปปรากฏอยู่ ณ ที่ใด ก็เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้เสด็จพระราชดำเนินร่วมไปด้วยในกองทัพนั้น ทหารไทยจึงมีขวัญมั่นคงเพราะต่างทราบดีว่าตนปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติเช่นเดียวกับพระประมุขของตนนั่นเอง
5. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานเกียรติยศแก่ชนทุกชั้นไม่ว่าจะเป็นฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ สมณศักดิ์ (ฐานันดรศักดิ์ของพระภิกษุสงฆ์) และบรรดาศักดิ์ (ฐานันดรศักดิ์ของขุนนาง ข้าราชการ) และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกตระกูลทุกลำดับชั้นด้วย การที่จะทรงสถาปนาฐานันดรศักดิ์หรือพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ในสมัยราชาธิปไตยพระราชอำนาจเหล่านี้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแล้ว การสถาปนาและถอดถอนฐานันดรศักดิ์
การพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงมีธรรมเนียมที่จะทรงสถาปนาฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์และพระราชทานสมณศักดิ์อยู่ แต่สำหรับบรรดาศักดิ์ขุนนางหรือข้าราชการนั้น ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว
6. ทรงเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี คณะองคมนตรี คือ คณะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อองค์พระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา องคมนตรีประกอบด้วยผู้มทรงคุณวุฒิต่าง ๆ โดยมีประธานองคมนตรีคนหนึ่งกับองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน การเลือก การแต่งตั้ง และการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพียงแต่ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งหรือพ้นจากตำแหน่งขององค์มนตรีอื่นๆ ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทั้งสิ้น
7. ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หมายถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน พระมหากษัตริย์ เมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักรหรือทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ เช่น ประชวร ทรงผนวช ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ หรือเมื่อราชบัลลังก์ว่างลง ปกติแล้วเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ใดด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา ผู้นั้นก็เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ถ้ามิได้ทรงแต่งตั้งไว้ ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งที่สมควรต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบและในบางกรณีเช่น เมื่อราชบัลลังก์ว่างลง หรือระหว่างที่ยังไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลางก่อนได้
ในรัชกาลปัจจุบันมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หลายคราว เช่น เมื่อเสด็จไปทรงศึกษาในต่างประเทศช่วงต้นรัชกาล เมื่อทรงผนวช หรือเมื่อเสด็จฯ ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในต่างประเทศ
8. ทรงแก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ กฎมณเฑียรบาลหมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นใช้บังคับในกิจการส่วนพระองค์ เช่น พระราชพิธีต่าง ๆ กิจการที่เกี่ยวกับสมาชิกแห่งพระราชวงศ์ หรือกิจการที่เกี่ยวกับราชสำนักหรือภายในเขตพระราชฐาน โดยไม่เกี่ยวกับราษฎรอื่น ๆ
การสืบราชสมบัติ หมายถึง การขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งนับต่อเนื่องจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนมิให้ขาดตอนกัน อันเป็นธรรมเนียมนานาประเทศ
การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะ เมื่อมีพระราชดำริประการใดให้คณะองคมนตรีจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมีพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประธานองคมนตรีแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้รัฐสภาทราบ
9. ทรงทำหนังสือสัญญา ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นๆ กับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ นอกจากนี้หนังสือสัญญาได้มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้เป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
10. ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้พิพากษา ข้าราชการในพระองค์ และข้าราชการระดับสูง
11. พระราชทานอภัยโทษ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษโดยมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น